ประเพณีท้องถิ่นและเทศกาล




งานประเพณีสำคัญของจังหวัดสตูลที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

1) งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล
          การแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล เริ่มมีวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ โดยคณะครู-อาจาย์โรงเรียนสตูลวิทยา และชาวบ้านตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ริเริ่มจัดการแข่งขัน เนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ลงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ลมว่าวกำลังพัดย่านท้องที่สนามบิน และในจังหวัดภาคใต้ เหมาะแก่การเล่นว่าว ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ลงทุนน้อย เล่นง่าย เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประดิษฐ์ว่าวประเภทต่างๆ ขึ้นมาประกอบคนชาวไทยเป็นนักประดิษฐ์ ช่างคิด ช่างทำ เห็นควายอยู่ในนาที่กำลังเก็บเกี่ยวจึงได้จำลองหน้าตาของควายลงในตัวว่าว ขณะที่ว่าวลอยกลางอากาศส่วนหางจะอยู่บน ส่วนหัว เขา จมูก หู อยู่ส่วนล่าง ว่าวมีเสียงดังอยู่ไม่นิ่ง ส่ายไปมาเหมือนนิสัยบ้าบิ่นของควาย ชาวบ้านจึงเรียกว่าวควาย เป็นสัญลักษณ์ของการเล่นว่าวในจังหวัดสตูล เป็นที่นิยมของประชาชนในจังหวัดใกล้เคียง เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จังหวัดสตูล
ประเพณีแข่งว่าว

2) พิธีนิกะฮ์หรือพิธีกินเหนียว
ตามบัญญัติศาสนาอิสลาม การนิกะฮ์ หมายถึงการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามี ภรรยากัน โดยพิธีสมรสตามหลักศาสนาอิสลาม

จังหวัดสตูล
พิธีนิกะฮ์

3) งานเทศกาลถือศีลกินเจ
จัดในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ณ ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เทศกาลกินเจเป็นความเชื่อของชาวจีนที่ถือเอาวันที่ 1 เดือน 9 ของทุกปี

จังหวัดสตูล
งานเทศกาลถือศีลกินเจ

4)  ประเพณีลอยเรือ

                        
           การลอยเรือ เป็นประเพณีของชาวเล (ชาวน้ำ) ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอาดัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เกาะหลีเป๊ะ เป็นเกาะที่มีชาวเลมากที่สุด ชาวเลเป็นนักดำน้ำที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือในการดำน้ำสามารถจับปลา กุ้งมังกรด้วยมือเปล่า ดำน้ำลึก ๒๐ วา เพื่อปักไม้ทำโป๊ะ แข็งแรงทนแดดทนฝน สันนิษฐานว่าชาวเล ได้อพยพมาอยู่ในประเทศไทยหลายร้อยปีมาแล้ว ยากแก่การสืบทราบ ส่วนชาติพันธุ์ สันนิษฐานว่าเป็นเชื้อชาติมองโกล พวกเดียวกับ อินเดียแดง จีน พม่า ไทยมลายู อินโดนีเซีย และนิกริโต อาศัยอยู่อย่างอิสระ ไม่มีหลักแหล่ง มีแบบแผนประเพณีมีภาษาของตนเอง ไม่ชอบคบค้าสมาคมกับผู้อื่น เดิมชาวเลไม่มีศาสนา เชื่อในผีสางวิญญาณ ประเพณีที่สำคัญ คือ การลอยเรือ



ประเพณีลอยเรือ



5)  ลากพระ 

          ช่วงเวลา วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัดเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษาปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน


ประเพณีลากพระ



6)  เทศกาลของดีเมืองสตูล

          งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูล เป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำโรตีลอยฟ้าจะมีในเดือนมกราคมมีโรตีหลากหลายประเภทที่นำมาให้รับประทานและขายกัน 



7) งานวันเมาลิดกลาง 

          เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด เพื่อเป็นการส่งเสริมสถาบันศาสนาอิสลามและเพื่อผนึกกำลังของพี่น้องมุสลิมในการร่วมกันแก้ปัญหาที่สำคัญของจังหวัดจัดเดือนพฤษภาคมของทุกปี


                                                                                   

   
















2 ความคิดเห็น:

อุทยานธรณี

เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล “จากผืนทะเล 500 ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่ ผูกพันวิถีชีวิต ผู้คน” “อุทยานธรณี” ( Geopark ) ค...