1.เขาทะนาน
เขาทะนาน เป็นลักษณะของภูมิประเทศแบบคาสต์ พบถ้ำทะเล มีร่องรอยการกัดเซาะด้านข้างภูเขาโดยน้ำทะเลที่เคยขึ้นสูงและคงที่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบันประมาณ 3-4 เมตร เมื่อ 5,000 – 6,000 ปีก่อนที่อาจกล่าวได้ว่าในอดีตเขาทะนานเคยเป็นเกาะขนาดเล็กใกล้ชายฝั่ง ซึ่งต่อมาน้ำทะเลได้ถอยร่นลงไปจนเกิดเป็นเขาทะนานดังปรากฏเห็นในปัจจุบัน หินปูนมีลักษณะเป็นชั้นหนามาก มีซากดึกดาบรรพ์หลากหลายประเภท เช่น หอยสองฝา แบรคิโอพอด ไบรโอซัว ปะการัง ฟองน้ำ หอยกาบเดี่ยว แกนกลางของไบรโอซัว และพลับพลึงทะเล เกิดการสะสมตัวในทะเลตื้นในลักษณะของพืดปะการังในเขต อาจมีอายุอยู่ในช่วงยุคเพอร์เมียน เขาทะนานเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในบางช่วงจะมีการปลูกดอกทานตะวันบานเต็มทุ่งบริเวณด้านหน้า
ที่ตั้ง : อยู่ในพื้นที่บ้านมะหงัง ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
2.พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีสตูล
เป็นศูนย์ข้อมูลแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาถือได้ว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดสตูลยิ่ง อีกทั้งการให้ข้อมูลทางวิชาการ การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ การมีส่วนร่วมของเยาวชน และการสร้างความตระหนักของคนในท้องถิ่น ในการหาแนวทางการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรณีของจังหวัดสตูล รวมไปถึงการผลักดันอุทยานธรณีสตูล เพื่อจัดตั้งอุทยานธรณีระดับโลก อันจะนำไปสู่ความโดดเด่น สวยงาม มีเสน่ห์ เป็นแห่งเรียนรู้ที่สำคัญ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักระดับจังหวัด ระดับชาติ
ที่ตั้ง: 32/5 416, ตำบลทุ่งหว้า,อำเภอทุ่งหว้า, จังหวัดสตูล 91120
3.ถ้ำเลสเตโกดอน
เป็นถ้ำอยู่ในเทือกเขาหินปูนทอดยาวมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ใต้ภูเขา ภายในถ้ำมีลักษณะคดเคี้ยวมีระยะทางจากปากถ้ำจนถึงทางออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สิ่งที่โดดเด่นของถ้ำแห่งนี้ที่สำคัญคือการพบซากดึกดำบรรพ์ของช้าง และ แรดสมัยไพลสโตซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้าง สกุล สเตโกดอน ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกชื่อถ้ำแห่งนี้ว่า “ถ้ำเล สเตโกดอน” ซากดึกดำบรรพ์ ดังกล่าวเป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกราม ซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างขวาของช้างดึกดำบรรพ์เชื่อกันว่าการพบเจอฟันกรามช้างสกุล สเตโกดอน เป็นจุดกำเนิดเรื่องราวการศึกษาค้นคว้าทางธรณีวิทยาในจังหวัดสตูล โดยใช้การบูรณาการทุกภาคส่วน ทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ที่จะเกิดท้องถิ่นและประเทศชาติร่วมกัน อาทิ หน่วยงานในจังหวัดสตูล, กรมทรัพยากรธรณี, สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), และภาคส่วนจากชุมชนท้องถิ่นในเขตอุทยานธรณีสตูล จนเกิดการจัดตั้งอุทยานธรณีสตูลขึ้นเพื่อผลักดันให้เป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกต่อไป พอออกจากถ้ำจะต้องนั่งเรือ 30 นาที นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับป่าชายเลน โดยการต่อเรือไปขึ้นบกที่ท่าเรือท่าอ้อย ด้วยระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร โดยน้ำในถ้ำจะได้รับอิทธิพลจากน้ำในลำธารและน้ำทะเลขึ้นลงเป็นประจำทุกวัน การท่องเที่ยวภายในถ้ำจะต้องพายเรือลอดถ้ำ และต้องพิจารณาระดับน้ำในถ้ำแต่ละวันด้วย แต่สามารถเข้าถ้ำได้ตลอดทุกฤดูกาล การท่องเที่ยวจะต้องติดต่อที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าล่วงหน้า เนื่องจากอุทยานธรณีสตูลจะเน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ นักท่องเที่ยวสามารถชมพิพิธภัณฑ์ทางธรณีก่อนเข้าถ้ำได้ ขณะเดียวกันจะมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด และจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป
ที่ตั้ง:หมู่ 7 หมู่บ้านคีรีวง ตำบลทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ที่มา: http://www.citieshiddengemsthailand.com/travel/%E0%B8%96%E0% |
น่าไปมากเลยครับ
ตอบลบธรรมชาติดีมากเลย
ตอบลบ