อำเภอเมืองสตูล



สถานที่ต้องห้าม(พลาด) 

1.เกาะหลีเป๊ะ


บรรยากาศยามเช้าบนเกาะหลีเป๊ะ
บรรยากาศของที่พัก
Image result for เก่าะหลีเป๊ะ
ผืนน้ำมรกตอันดามัน

เกาะงามแห่งทะเลอันดามัน ที่ได้รับการขนานนามว่ามัลดีฟส์เมืองไทย เกาะหลีเป๊ะอยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง สถานที่ท่องเที่ยวรอบเกาะหลีเป๊ะมีมากมาย เช่น แนวปะการังอยู่ด้านใต้ของเกาะมีและอ่าวเล็ก ๆ มากมาย โดยจะมีชาวบ้านคอยให้บริการเช่าเรือเพื่อท่องเที่ยวไปยังเกาะรอบๆ ซึ่งเต็มไปด้วยแนวปะการัง
บนเกาะหลีเป๊ะมีหาดพัทยา ซึ่งเป็นหาดที่มีความสวยงามที่สุดและนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน นอนเล่นอาบแดด มีหาดซันไรซ์ ที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม และเงียบสงบ และหาดซันเซ็ต ที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม

นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งตรงข้ามกับหมู่บ้านคือ “เกาะกระ” เป็นเกาะที่ได้รับการอนุรักษ์แนวปะการังไว้อย่างดี เหมาะสำหรับการดำน้ำชมความสวยงามของแนวปะการัง

ที่ตั้ง : บ้านเกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล



2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล



Image result for พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล


Related image



จัดแสดงในคฤหาสน์กูเด็น สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดี หรือตวนกูบาฮารุตดิน บินตำมะหง เจ้าเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ.2441-2459 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้ประทับแรมต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล
จนกระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น สำนักงานเทศบาล ศาลากลางจังหวัดสตูล โรงเรียนเทศบาล 1 แล้วจึงใช้เป็นสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูลเป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส จัดแสดงนิทรรศการและส่วนบริการ 10 ห้องดังนี้
ห้องที่ 1 ห้องข้อมูลข่าวสารห้องที่ 2 ห้องภูมิหลังเมืองสตูลห้องที่ 3 ห้องประชาสัมพันธ์ห้องที่ 4 ห้องวิถีชีวิตชาวสตูลห้องที่ 5 ห้องจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวห้องที่ 6 ห้องบ้านเจ้าเมืองห้องที่ 7 ห้องเรือนชานชาวบ้านห้องที่ 8 ห้องรับแขกร่วมสมัยกูเด็นห้องที่ 9 ห้องวัฒนธรรมชาวไทย-มุสลิมห้องที่ 10 ส่วนชั้นดาดฟ้า
ที่ตั้ง : ถนนสตูลธานี ซอย 5 อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

3.หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
บรรยากาศบนสันหลังมังกร

ากตัวเมืองสตูลประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเมืองสตูล – ตันหยงโป โดยการสังเกตป้าย  หาดสันหลังมังกร  “ทะเลแหวก”  คือคำเรียกขานเกาะแห่งหนึ่งของชาวชุมชนตันหยงโป อ.เมืองสตูล ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์กลางทะเลอันดามัน ในยามน้ำทะเลลดลงเหมือนกระแสน้ำหลีกทางให้สันทรายโผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นสันทรายที่เต็มไปด้วยซากเปลือกหอยนับหลายล้านตัวทับถมกัน ทำให้เกิดเป็นเส้นทางคดเคี้ยวยาวกว่า 3 กิโลเมตร สามารถเชื่อมไปยังอีกเกาะหนึ่งได้ หรือเปรียบเสมือนกับมังกรฟ้าถลาลงเล่นน้ำ ให้เราได้เดินบนสันหลังมังกรที่เคลื่อนไหวพลิ้วตัวอย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อหาดแห่งนี้ “หาดมังกร”   
นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเรือหางยาวนำเที่ยวได้ที่ท่าเรือบ้านบากันเคย  ต.ตันหยงโป  อ.เมืองสตูล ใช้เวลาเดินทางเพียง 20 นาที เราสามารถนั่งเรือชมเกาะกวาง เป็นเกาะเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเดียวกัน และแวะสัมผัสวิถีชีวิตชาวเลที่ “ปุเลาอูบี” ได้อีกด้วย       
ที่ตั้ง : ต.ตันหยงโป  อ.เมืองสตูล จ.สตูล

4.ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
บรรยากาศบนเกาะ


“เกาะไข่”  เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูลในเชิงการท่องเที่ยว เป็นจุดกึ่งกลางในการแล่นเรือจากท่าเทียบเรือปากบารากับเกาะหลีเป๊ะ รายล้อมด้วยน้ำทะเลใสสีมรกต หัวแหลมมีลักษณะผาชันด้านเหนือมีซุ้มหินชายฝั่ง นักท่องเที่ยวมักไม่พลาดที่จะต้องแวะชื่นชมในความงดงามของเกาะไข่  “เกาะไข่”  เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูลในเชิงการท่องเที่ยว เป็นจุดกึ่งกลางในการแล่นเรือจากท่าเทียบเรือปากบารากับเกาะหลีเป๊ะ รายล้อมด้วยน้ำทะเลใสสีมรกต หัวแหลมมีลักษณะผาชันด้านเหนือมีซุ้มหินชายฝั่ง นักท่องเที่ยวมักไม่พลาดที่จะต้องแวะชื่นชมในความงดงามของเกาะไข่  สถานที่ตั้ง: เกาะไข่ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อยู่ห่าจากท่าเทียบเรือปากบาราไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทางเรือประมาณ 33 กิโลเมตร  เกาะไข่ มีขนาดตามความยาวประมาณ 300 เมตร กว้างประมาณ 100 เมตร เห็นเป็นเกาะหินขนาดเล็กสองเกาะห่างจากกันประมาณ 250 เมตร มีสันดอนทรายเชื่อมระหว่างสองเกาะ หินส่วนใหญ่เป็นหินทรายมีโครงสร้างรอยแตกฉี่หลายทิศทาง โดยในช่องรอยแตกดังกล่าวมักมีสารเหล็กออกไซด์เข้าไปสะสมตัวอยู่และมีความแข็งแรงทนทานต่อการสึกกร่อนสูงกว่าเนื้อหินทราย บางบริเวณจึงพบโครงร่างตาข่ายสามมิติของเหล็กออกไซด์โดยที่เนื้อหินได้สึกกร่อนหลุดออกไปหมดแล้ว เกาะด้านเหนือมีซุ้มหินชายฝั่งเกิดจากคลื่นทะเลซัดมีลักษณะที่สวยงามแปลกตาและถือเป็นสัญญาลักษณ์แห่งการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือปากบาราไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทางเรือประมาณ 33 กิโลเมตร เกาะไข่ มีขนาดตามความยาวประมาณ 300 เมตร กว้างประมาณ 100 เมตร เห็นเป็นเกาะหินขนาดเล็กสองเกาะห่างจากกันประมาณ 250 เมตร มีสันดอนทรายเชื่อมระหว่างสองเกาะ หินส่วนใหญ่เป็นหินทรายมีโครงสร้างรอยแตกฉี่หลายทิศทาง โดยในช่องรอยแตกดังกล่าวมักมีสารเหล็กออกไซด์เข้าไปสะสมตัวอยู่และมีความแข็งแรงทนทานต่อการสึกกร่อนสูงกว่าเนื้อหินทราย บางบริเวณจึงพบโครงร่างตาข่ายสามมิติของเหล็กออกไซด์โดยที่เนื้อหินได้สึกกร่อนหลุดออกไปหมดแล้ว เกาะด้านเหนือมีซุ้มหินชายฝั่งเกิดจากคลื่นทะเลซัดมีลักษณะที่สวยงามแปลกตาและถือเป็นสัญญาลักษณ์แห่งการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล
ที่ตั้ง: เกาะไข่ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล










3 ความคิดเห็น:

อุทยานธรณี

เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล “จากผืนทะเล 500 ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่ ผูกพันวิถีชีวิต ผู้คน” “อุทยานธรณี” ( Geopark ) ค...